DSC08813 

วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553

รวมบทสวดมนต์–watphut.blogspot.com

20081218102154_5234                     

                       อัปปมาทธัมมคาถา
(หันทะ มะยัง อัปปะมาทะธัมมะคาถาโย ภะณามะ เส)
อัปปะมาโท อะมะตัง ปะทัง......
ปะมาโท มัจจุโน ปะทัง,
อัปปะมัตตา นะ มิยยันติ
...........เย ปะมัตตา ยะถา มะตา,
ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย, ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย,
ชนทั้งหลาย ผู้ไม่ประมาทแล้วชื่อว่าย่อมไม่ตาย,
ผู้ซึ่งประมาทแล้วก็เหมือนคนตายแล้ว,
เอตัง วิเสสะโต ญัต๎วา..............
อัปปะมาทัมหิ ปัณฑิตา,
อัปปะมาเท ปะโมทันติ
.............อะริยานัง โคจะเร ระตา,
บัณฑิตทั้งหลาย ทราบความข้อนั้นโดยต่างกันแล้ว,
ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท,
ยินดีแล้วในธรรมอันเป็นโคจรของพระอริยเจ้าทั้งหลาย,
เต ฌายิโน สาตติกา...............
นิจจัง ทัฬหะปะรักกะมา,
ผุสันติ ธีรา นิพพานัง
..............โยคักเขมัง อะนุตตะรัง,
บัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์เหล่านั้น เพ่งพิจารณาธรรม,
มีความเพียรติดต่อกัน มีความบากบั่นมั่นเป็นนิจ,
ย่อมถูกต้องพระนิพพาน อันเกษมจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้.
                 .ปฐมพุทธภาสิตคาถา
(หันทะ มะยัง ปะฐะมะพุทธะภาสิตะคาถาโย ภะณามะ เส)
อะเนกะชาติสังสารัง...............สันธาวิสสัง อะนิพพิสัง,
เมื่อเรายังไม่พบญาณ ได้แล่นท่องเที่ยวไปในสงสารเป็นเอนกชาติ,
คะหะการัง คะเวสันโต............ทุกขา ชาติ ปุนัปปุนัง,
แสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างปลูกเรือน, คือตัณหาผู้สร้างภพ,
การเกิดทุกคราวเป็นทุกข์ร่ำไป,
คะหะการะกะ ทิฏโฐสิ.............ปุนะ เคหัง นะ กาหะสิ,
นี่แน่ะ ! นายช่างปลูกเรือน, เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว,
เจ้าจะทำเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป,
สัพพา เต ผาสุกา ภัคคา..........คะหะกูฏัง วิสังขะตัง,
โครงเรือนทั้งหมดของเจ้าเราหักเสียแล้ว, ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว,
วิสังขาระคะตัง จิตตัง..............ตัณหานัง ขะยะมัชฌะคา,
จิตของเราถึงแล้วซึ่งสภาพที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป,
มันได้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหา (คือถึงนิพพาน).
                       ..ธัมมปริยายคาถา
(หันทะ มะยัง ธัมมะปะริยายะคาถาโย ภะณามะ เส)
สัพเพ สัตตา มะริสสันติ มะระณันตัง หิ ชีวิตัง,
สัตว์ทั้งหลายทั้งสิ้นจักต้องตาย, เพราะชีวิตนี้มีความตายเป็นที่สุดรอบ,
ชะรังปิ ปัต๎วา มะระณัง เอวัง ธัมมา หิ ปาณิโน,
แม้จะอยู่ได้ถึงชราก็ต้องตาย, เพราะสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเป็นอย่างนี้ตามธรรมดา,
ยะมะกัง นามะรูปัญจะ อุโภ อัญโญญะนิสสิตา,
ก็นามและรูปคือกายกับใจ, ย่อมอาศัยกันอยู่เป็นของคู่กัน,
เอกัส๎มิง ภิชชะมานัส๎มิง อุโภ ภิชชันติ ปัจจะยาติ,
เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแตกสลาย, ทั้ง ๒ ฝ่ายก็สลายไปด้วยกัน,
ยะถาปิ อัญญะตะรัง พีชัง เขตเต วุตตัง วิรูหะติ,
เปรียบเหมือนพืชอย่างใดอย่างหนึ่ง,
ที่หว่านลงแล้วในพื้นแผ่นดิน ย่อมงอกขึ้นได้,
ปะฐะวีระสัญจะ อาคัมมะ สิเนหัญจะ ตะทูภะยัง,
เพราะอาศัยรสแห่งแผ่นดิน, และเชื้อในยางแห่งพืชนั้นๆ,
เอวัง ขันธา จะ ธาตุโย ฉะ จะ อายะตะนา อิเม,
ขันธ์ทั้ง ๕ และธาตุทั้งหลาย, พร้อมทั้งอาตยนะทั้ง ๖ นี้ก็เหมือนกัน,
เหตุง ปะฏิจจะ สัมภูตา เหตุภังคา นิรุชฌะเร,
อาศัยเหตุจึงเกิดขึ้นได้, เมื่อเหตุนั้นแตกสลายก็ย่อมดับไป,
ยะถา หิ อังคะสัมภารา โหติ สัทโท ระโถ อิติ,
เปรียบเหมือนการประกอบชิ้นส่วนของรถเข้าด้วยกัน, คำเรียกว่ารถก็มีขึ้นได้,
เอวัง ขันเธสุ สันเตสุ โหติ สัตโตติ สัมมะติ,
เมื่อขันธ์ทั้ง ๕ ยังมีอยู่ก็เหมือนกัน, คำสมมุติว่าคนและสัตว์ก็มีขึ้นได้,
อุโภ ปุญญัญจะ ปาปัญจะ ยัง มัจโจ กุรุเต อิธะ,
ผู้ทำบุญและบาปใดๆ ในโลกนี้, เมื่อผู้นั้นตายไป
ตัญหิ ตัสสะ สะกัง โหติ ตัญจะ อาทายะ คัจฉะติ,
บุญและบาปนั้นแล ย่อมเป็นของๆ เขาผู้นั้นโดยแท้,
เขาย่อมได้รับบุญและบาปนั้นแน่นอน,
ตัญจัสสะ อะนุคัง โหติ ฉายาวะ อะนุปายินี,
บุญและบาปนั้น ย่อมติดตามเขาไป, เหมือนเงาตามตัวเขาไป ฉันนั้น,
สัทธายะ สีเลนะ จะ โย ปะวัฑฒะติ,
ผู้ใดเจริญด้วยศีลและมีศรัทธา,
ปัญญายะ จาเคนะ สุเตนะ จูภะยัง,
เป็นผู้ฟัง ผู้เสียสละ ผู้มีปัญญา,
โส ตาทิโส สัปปุริโส วิจักขะโน,
บุคคลผู้เป็นสัตบุรุษ เป็นผู้เฉียบแหลมเช่นนั้น,
อาทียะติ สาระมิเธวะ อัตตะโน,
ย่อมเป็นผู้ถือเอาประโยชน์แห่งตน ในโลกนี้ไว้ได้โดยแท้,
อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง โก ชัญญา มะระณัง สุเว,
ความพากเพียรในสิ่งดีงาม เป็นกิจที่ต้องทำในวันนี้, ใครจะรู้ความตายแม้พรุ่งนี้,
นะ หิ โน สังคะรันเตนะ มะหาเสเนนะ มัจจุนา,
เพราะการผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชซึ่งมีเสนามาก, ย่อมไม่มีสำหรับเรา,
เอวัมภูเตสุ เปยเตสุ สาธุ ตัตถาชฌุเปกขะนา,
เมื่อสังขารเหล่านั้นต้องเป็นอย่างนี้แน่นอน,
การวางเฉยในสังขารเสียได้ ย่อมเป็นการดี,
อะปิ เตสัง นิโรธายะ ปะฏิปัตตะยาติ สาธุกา,
อนึ่ง การปฏิบัติเพื่อดับสังขารเสียได้ ยิ่งเป็นการดี,
สัพพัง สัมปาทะนียัญหิ อัปปะมาเทนะ สัพพะทาติ,
กิจทั้งสิ้นนี้จะพึงบำเพ็ญให้บริบูรณ์ได้,
ด้วยความไม่ประมาททุกเมื่อเท่านั้นแล ดังนี้.
    

                      ปัจฉิมพุทโธวาทปาฐะ
(หันทะ มะยัง ปัจฉิมะพุทโธวาทะปาฐัง ภะณามะ เส)
หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, บัดนี้ เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า,
วะยะธัมมา สังขารา,
สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา,
อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ,
ท่านทั้งหลาย, จงยังประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน
ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด,
อะยัง ตะถาคะตัสสะ ปัจฉิมา วาจา,
นี้เป็นพระวาจาตรัสในครั้งสุดท้าย ของพระตถาคตเจ้า.

                    อิทัปปัจจยตาในปฏิจจสมุปบาท 
(หันทะ มะยัง ปะฏิจจะสะมุปปาทะธัมเมสุ อิทัปปัจจะยะตาทิธัมมะปาฐัง ภะณามะ เส)
กะตะโม จะ ภิกขะเว ปะฏิจจะสะมุปปาโท,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างไรเล่า?
(๑) ชาติปัจจะยา ภิกขะเว ชะรามะระณัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะการเกิด (ชาติ) เป็นปัจจัย
ความแก่และความตาย (ชรามรณะ) ย่อมมี,
* อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง, อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้พระตถาคตทั้งหลาย,
จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม,
ฐิตา วะ สา ธาตุ, ............ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้ว นั่นเทียว,
ธัมมัฏฐิตะตา, ................คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา,
ธัมมะนิยามะตา, ............คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา,
อิทัปปัจจะยะตา, ............คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น,
ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ,
ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น,
อะภิสัมพุชฌิต๎วา อะภิสะเมต๎วา,
ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว,
อาจิกขะติ เทเสติ, ...........ย่อมบอก ย่อมแสดง,
ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ, .....ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้,
วิวะระติ วิภะชะติ, ............ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง,
อุตตานีกะโรติ, ................ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ,
ปัสสะถาติ จาหะ, ชาติปัจจะยา ภิกขะเว ชะรามะระณัง,
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงมาดู
เพราะการเกิด (ชาติ) เป็นปัจจัย ความแก่และความตาย (ชรามรณะ) ย่อมมี,
** อิติ โข ภิกขะเว, ..........ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุดังนี้แล,
ยา ตัต๎ระตะถะตา, ............ธรรมธาตุใดในกรณีนั้นอันเป็นตถตา คือความเป็นอย่างนั้น,
อะวิตะถะตา, ...................เป็นอวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น,
อะนัญญะถะตา ................เป็นอนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น
อิทัปปัจจะยะตา,
เป็นอิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น,
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ปะฏิจจะสะมุปปาโท,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ เราเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท,
(คือธรรมอันเป็นธรรมชาติอาศัยกันแล้วเกิดขึ้น)
(๒) ภะวะปัจจะยา ภิกขะเว ชาติ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะภพเป็นปัจจัย การเกิด (ชาติ) ย่อมมี,
ปัสสะถาติ จาหะ, ภะวะปัจจะยา ภิกขะเว ชาติ,
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงมาดู
เพราะภพเป็นปัจจัย การเกิด (ชาติ) ย่อมมี, (**)
(๓) อุปาทานะปัจจะยา ภิกขะเว ภะโว,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความยึดมั่น (อุปาทาน) เป็นปัจจัย ภพย่อมมี,
ปัสสะถาติ จาหะ, อุปาทานะปัจจะยา ภิกขะเว ภะโว,
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงมาดู
เพราะความยึดมั่น (อุปาทาน) เป็นปัจจัย ภพย่อมมี, (**)
(๔) ตัณหาปัจจะยา ภิกขะเว อุปาทานัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความอยาก (ตัณหา) เป็นปัจจัย
ความยึดมั่น (อุปาทาน) ย่อมมี,
ปัสสะถาติ จาหะ, ตัณหาปัจจะยา ภิกขะเว อุปาทานัง,
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงมาดู
เพราะความอยาก (ตัณหา) เป็นปัจจัย ความยึดมั่น (อุปาทาน) ย่อมมี, (**)
(๕) เวทะนาปัจจะยา ภิกขะเว ตัณหา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความเสวยอารมณ์ (เวทนา) เป็นปัจจัย
ความอยาก (ตัณหา) ย่อมมี,
ปัสสะถาติ จาหะ, เวทะนาปัจจะยา ภิกขะเว ตัณหา,
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงมาดู
เพราะความเสวยอารมณ์ (เวทนา) เป็นปัจจัย ความอยาก (ตัณหา) ย่อมมี, (**)
(๖) ผัสสะปัจจะยา ภิกขะเว เวทะนา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะการกระทบ (ผัสสะ) เป็นปัจจัย
ความเสวยอารมณ์ (เวทนา) ย่อมมี,
ปัสสะถาติ จาหะ, ผัสสะปัจจะยา ภิกขะเว เวทะนา,
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงมาดู
เพราะการกระทบ (ผัสสะ) เป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์ (เวทนา) ย่อมมี, (**)
(๗) สะฬายะตะนะปัจจะยา ภิกขะเว ผัสโส,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอายตนะ ๖ (สฬายตนะ) เป็นปัจจัย
การกระทบ (ผัสสะ) ย่อมมี,
ปัสสะถาติ จาหะ, สะฬายะตะนะปัจจะยา ภิกขะเว ผัสโส,
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงมาดู
เพราะอายตนะ ๖ (สฬายตนะ) เป็นปัจจัย การกระทบ (ผัสสะ) ย่อมมี, (**)
(๘) นามะรูปะปัจจะยา ภิกขะเว สะฬายะตะนัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะกายและจิต (นามรูป) เป็นปัจจัย
อายตนะ ๖ (สฬายตนะ) ย่อมมี,
ปัสสะถาติ จาหะ, นามะรูปะปัจจะยา ภิกขะเว สะฬายะตะนัง,
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงมาดู
เพราะกายและจิต (นามรูป) เป็นปัจจัย อายตนะ ๖ (สฬายตนะ) ย่อมมี, (**)
(๙) วิญญาณะปัจจะยา ภิกขะเว นามะรูปัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความรู้แจ้งอารมณ์ (วิญญาณ) เป็นปัจจัย
กายและจิต (นามรูป) ย่อมมี,
ปัสสะถาติ จาหะ, วิญญาณะปัจจะยา ภิกขะเว นามะรูปัง,
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงมาดู
เพราะความรู้แจ้งอารมณ์ (วิญญาณ) เป็นปัจจัย กายและจิต (นามรูป) ย่อมมี, (**)
(๑๐) สังขาระปัจจะยา ภิกขะเว วิญญาณัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะการปรุงแต่ง (สังขาร) เป็นปัจจัย
ความรู้แจ้งอารมณ์ (วิญญาณ) ย่อมมี,
ปัสสะถาติ จาหะ, สังขาระปัจจะยา ภิกขะเว วิญญาณัง,
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงมาดู
เพราะการปรุงแต่ง (สังขาร) เป็นปัจจัย ความรู้แจ้งอารมณ์ (วิญญาณ) ย่อมมี, (**)
(๑๑) อะวิชชาปัจจะยา ภิกขะเว สังขารา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความไม่รู้ (อวิชชา) เป็นปัจจัย
การปรุงแต่ง (สังขาร) ย่อมมี,
อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง, อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้พระตถาคตทั้งหลาย,
จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม,
ฐิตา วะ สา ธาตุ, ..............ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้ว นั่นเทียว,
ธัมมัฏฐิตะตา, .................คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา,
ธัมมะนิยามะตา, ..............คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา,
อิทัปปัจจะยะตา,
คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น,
ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ,
ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น,
อะภิสัมพุชฌิต๎วา อะภิสะเมต๎วา,
ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว,
อาจิกขะติ เทเสติ, ............ย่อมบอก ย่อมแสดง,
ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ, ......ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้,
วิวะระติ วิภะชะติ, ............ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง,
อุตตานีกะโรติ, ................ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ,
ปัสสะถาติ จาหะ, อะวิชชาปัจจะยา ภิกขะเว สังขารา,
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงมาดู
เพราะความไม่รู้ (อวิชชา) เป็นปัจจัย การปรุงแต่ง (สังขาร) ย่อมมี,
อิติ โข ภิกขะเว, ..............ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุดังนี้แล,
ยา ตัต๎ระตะถะตา,
ธรรมธาตุใดในกรณีนั้นอันเป็นตถตา คือความเป็นอย่างนั้น,
อะวิตะถะตา, ..................เป็นอวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น,
อะนัญญะถะตา, ..............เป็นอนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น,
อิทัปปัจจะยะตา,
เป็นอิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น,
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ปะฏิจจะสะมุปปาโท,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ เราเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท,
(คือธรรมอันเป็นธรรมชาติอาศัยกันแล้วเกิดขึ้น)
อิติ, ..ด้วยประการฉะนี้แล.. (บาลีทสมสูตร นิทาน.สํ. ๑๖/๓๐/๖๑)(หมายเหตุ) เมื่อจะสวดข้อที่ ๒ ถึงข้อที่ ๑๐ ย้อน

                                ธัมมปหังสนปาฐะ
(หันทะ มะยัง ธัมมะปะหังสะนะสะมาทะปะนาทิวะจะนะปาฐัง ภะณามะ เส)
อะถาปะรัง โภนโต ธัมมะปะหังสะนะสะมาทะปะนาทิวะจะนะสังวัณณะนา
อัมเหหิ สัชฌายิตัพพา,

ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย! ลำดับนี้เรื่องอันเกี่ยวกับธัมมะปะหังสะนา,
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว, เป็นเรื่องที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย
จักนำมาสาธยาย,
ตัง สัพเพวะ สันตา สาธุกัง สุโณมะ มะนะสิกะโรมะ,
ขอพวกเราทั้งหลาย, จงฟังจงใส่ใจให้ดีเพื่อสำเร็จประโยชน์สืบต่อไป,
เอวัง ส๎วากขาโต ภิกขะเว มะยา ธัมโม,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, พระธรรมเป็นธรรมอันเรากล่าวไว้ดีแล้ว อย่างนี้,
อุตตาโน, .................................เป็นธรรมอันทำให้เป็นดุจของคว่ำที่หงายแล้ว,
วิวะโฏ, ....................................เป็นธรรมอันทำให้เป็นดุจของปิดที่เปิดแล้ว,
ปะกาสิโต, ................................เป็นธรรมอันเราตถาคต ประกาศก้องแล้ว,
ฉินนะปิโลติโก, ..........................เป็นธรรมมีส่วนขี้ริ้ว อันเราตถาคตเฉือนออกหมดสิ้นแล้ว,
เอวัง ส๎วากขาโต ภิกขะเว มะยา ธัมโม,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เมื่อธรรมนี้เป็นธรรมอันเรากล่าวไว้ดีแล้ว อย่างนี้,
อะลังเอวะ, .................................ย่อมเป็นการสมควรแล้วนั่นเทียว,
สัทธาปัพพะชิเตนะ กุละปุตเตนะ วิริยัง อาระภิตุง,
ที่กุลบุตรผู้บวชแล้วด้วยศรัทธา จักพึงปรารภความเพียร,
กามัง ตะโจ จะ นะหารู จะ อัฏฐิ จะ อะวะสิสสะตุ,
ด้วยการอธิษฐานจิตว่า แม้หนัง เอ็น กระดูก เท่านั้น จักเหลืออยู่,
สะรีระ อุปะสุสสะตุ มังสะโลหิตัง,
เนื้อและเลือดในสรีระนี้ จักเหือดแห้งไปก็ตามที,
ยันตัง ปุริสะถาเมนะ ปุริสะวิริเยนะ ปุริสะปะรักกะเมนะ ปัตตัพพัง,
ประโยชน์ใดอันบุคคลจะพึงลุถึงได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร
ความบากบั่นของบุรุษ,
นะ ตัง อะปาปุณิต๎วา ปุริสัสสะ วิริยัสสะ สัณฐานัง ภะวิสสะตีติ,
ถ้ายังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุดความเพียรของบุรุษเสียเป็นไม่มี ดังนี้,
ทุกขัง ภิกขะเว กุสีโต วิหะระติ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, คนผู้เกียจคร้านย่อมอยู่เป็นทุกข์,
โวกิณโณ ปาปะเกหิ อะกุสะเลหิ ธัมเมหิ,
ระคนอยู่ด้วยอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลายด้วย,
มะหันตัญจะ สะทัตถัง ปะริหาเปติ,
ย่อมทำประโยชน์อันใหญ่หลวงของตนให้เสื่อมด้วย,
อารัทธะวิริโย จะ โข ภิกขะเว สุขัง วิหะระติ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, บุคคลผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข,
ปะวิวิตโต ปาปะเกหิ อะกุสะเลหิ ธัมเมหิ,
สงัดแล้วจากอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลายด้วย,
มะหันตัญจะ สะทัตถัง ปะริปูเรนติ,
ย่อมทำประโยชน์อันใหญ่หลวงของตนให้บริบูรณ์ด้วย,
นะ ภิกขะเว ฮีเนนะ อัคคัสสะ ปัตติ โหติ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย,
การบรรลุธรรมอันเลิศด้วยการกระทำอันเลว ย่อมมีไม่ได้เลย,
อัคเคนะ จะ โข อัคคัสสะ ปัตติ โหติ,
แต่การบรรลุธรรมอันเลิศด้วยการกระทำอันเลิศ ย่อมมีได้แล,
มัณฑะเปยยะมิทัง ภิกขะเว พ๎รัห๎มะจะริยัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย,
พรหมจรรย์นี้น่าดื่ม เหมือนมัณฑะยอดโอชะแห่งโครส,
สัตถา สัมมุขีภูโต,
ทั้งพระศาสดา ก็อยู่ ณ ที่เฉพาะหน้านี้แล้ว,
ตัส๎มาติหะ ภิกขะเว วิริยัง อาระภะถะ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายจงปรารภความเพียรเถิด,
อัปปัตตัสสะ ปัตติยา, .......................เพื่อการบรรลุซึ่งธรรม อันยังไม่บรรลุ,
อะนะธิคะตัสสะ อะธิคะมายะ, ............เพื่อให้เข้าถึงซึ่งธรรม อันยังไม่ถึง,
อะสัจฉิกะตัสสะ สัจฉิกิริยายะ, ............เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม อันยังไม่ทำให้แจ้ง,
เอวัง โน อะยัง อัมหากัง ปัพพัชชา, ....เมื่อเป็นอย่างนี้ การบวชของเราทั้งหลายนี้,
อะวังกะตา อะวัญฌา ภะวิสสะติ,
จักเป็นการบวชที่ไม่ต่ำทราม จักไม่เป็นหมันเปล่า,
สะผะลา สะอุทะระยา,
แต่จักเป็นการบวชที่มีผล เป็นการบวชที่มีกำไร,
เยสัง มะยัง ปะริภุญชามะ, จีวะระปิณฑะปาตะเสนาสะนะคิลานะปัจจะยะ
เภสัชชะปะริกขารัง,

พวกเราทั้งหลายบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชของชนทั้งหลายเหล่าใด,
เตสัง เต การา อัมเหสุ,
การกระทำนั้นๆ ของชนทั้งหลายเหล่านั้น ในเราทั้งหลาย,
มะหัปผะลา ภะวิสสันติ มะหานิสังสาติ,
จักเป็นการกระทำมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ดังนี้,
เอวัง หิ โน ภิขะเว สิกขิตัพพัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เธอทั้งหลายพึงทำความสำเนียกอย่างนี้แล,
อัตตัตถัง วา หิ ภิกขะเว สัมปัสสะมาเนนะ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เมื่อบุคคลมองเห็นอยู่ซึ่งประโยชน์ตน ก็ตาม,
อะละเมวะ อัปปะมาเทนะ สัมปาเทตุง,
ก็ควรแล้วนั่นเทียว เพื่อยังประโยชน์ตนให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท,
ปะรัตถัง วา หิ ภิกขะเว สัมปัสสะมาเนนะ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เมื่อบุคคลมองเห็นอยู่ซึ่งประโยชน์แห่งชนเหล่าอื่น ก็ตาม,
อะละเมวะ อัปปะมาเทนะ สัมปาเทตุง,
ก็ควรแล้วนั่นเทียว เพื่อยังประโยชน์แห่งชนเหล่าอื่น
ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท,
อุภะยัตถัง วา หิ ภิกขะเว สัมปัสสะมาเนนะ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เมื่อบุคคลมองเห็นอยู่ซึ่งประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย ก็ตาม,
อะละเมวะ อัปปะมาเทนะ สัมปาเทตุง,
ก็ควรแล้วนั่นเทียว เพื่อยังประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่ายให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท,
อิติ, .........ด้วยประการฉะนี้แล.. (บาลีทุติยสูตร ทศพลวรรค นิทาน.สํ. ๑๖/๓๔/๖๖)

                              พุทธภาษิตสำคัญในอานาปานสติสูตร
                          (ขั้นของการฝึกอานาปานสติที่สมบูรณ์)
(หันทะ มะยัง นานาสารัตถะ อานาปานะสะติ พุทธะภาสิตังปาฐัง ภะณามะ เส)

อะยัมปิ โข ภิกขะเว, อานาปานะสะติ สะมาธิ ภาวิโต พะหุลีกะโต,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญให้มาก ทำให้มากแล้ว,
สันโต เจวะ ปะณีโต จะ อะเสจะนะโก จะ,
ย่อมเป็นสภาพอันสงบ ประณีตและชื่นใจ,
สุโข จะ วิหาโร อุปปันนุปปันเน จะ, ปาปะเก อะกุสะเล ธัมเม ฐานะโส
อันตะระธาเปติ วูปะสะเมติ,

เป็นธรรมที่ทำให้เกิดความผาสุกแห่งจิต,
และยังอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ให้อันตรธานไปโดยพลัน,
เสยยะถาปิ ภิกขะเว คิมหานัง ปัจฉิเม มาเส,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เหมือนเดือนท้ายๆ แห่งฤดูร้อน,
อูหะตัง ระโช ชัลลัง,....................ฝุ่นธุลีละอองย่อมฟุ้งขึ้น,
ตะเมนัง อะกาละมะหาเมโฆ ฐานะโส อันตะระธาเปติ วูปะสะเมติ,
ฝนใหญ่มิใช่ฤดูกาลตกลงมา,
ย่อมยังธุลีละอองนั้น ให้อันตรธานสงบไปฉันใด,
เอวะเม โข ภิกขะเว อานาปานะสติ สะมาธิ ภาวิโต พะหุลีกะโต,
สมาธิอันประกอบด้วยสติในลมหายใจเข้าออก,
อันบุคคลเจริญให้มาก ทำให้มากแล้ว,
สันโต เจวะ ปะณีโต จะ อะเสจะนะโก จะ,
ย่อมเป็นสภาพอันสงบ ประณีตและชื่นใจ,
สุโข จะ วิหาโร อุปปันนุปปันเน จะ, ปาปะเก อะกุสะเล ธัมเม ฐานะโส
อันตะระธาเปติ วูปะสะเมติ,

เป็นธรรมที่ทำให้เกิดความผาสุกแห่งจิต,
และยังอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ให้อันตรธานไปโดยพลัน,
อะหัมปิ สุทัง ภิกขะเว, ปุพเพวะ สัมโพธา อะนะภิสัมพุทโธ โพธิสัตโตวะ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เมื่อก่อนแต่เรายังไม่ตรัสรู้ เรายังเป็นโพธิสัตว์อยู่,
สะมาโน อิมินา วิหาเรนะ, อานาปานะสะติ พะหุลัง วิหะรามิ,
เราย่อมเป็นอยู่ด้วยวิหารธรรม, คืออานาปานสตินี้แล เป็นส่วนมาก,
ตัสสะ มัยหัง ภิกขะเว, อิมินา วิหาเรนะ พะหุลัง วิหะระโต,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เมื่อเราเป็นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมากแล้ว,
เนวะ เม กาโย กิละมะติ, นะ จักขูนิ อะนุปาทายะ, จะ เม อาสะเวหิ
จิตตัง วิมุจจะติ,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, กายของเราไม่ลำบาก ตาของเราไม่ลำบาก,
จิตของเราก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง, เพราะความไม่ถือมั่น,
ตัส๎มาติหะ ภิกขะเว ภิกขุ เจปิ อากังเขยยะ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุนั้นแล, ถ้าภิกษุในธรรมวินัยนี้ จักพึงหวังว่า,
เนวะ เม กาโยปิ กิละเมยยะ, นะ จักขูนิ อะนุปาทายะ, จะ เม อาสะเวหิ
จิตตัง วิมุจเจยยาติ,

แม้กายของเราก็จักไม่ลำบาก, ตาของเราก็จักไม่ลำบาก,
จิตของเราก็จักพึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง, เพราะความไม่ถือมั่นแล้วไซร้,
อะยะเมวะ อานาปานะสะติ สะมาธิ สาธุกัง มะนะสิกาตัพโพ,
เธอทั้งหลายจงทำไว้ในใจให้ดีๆ, ซึ่งอานาปานสติสมาธินี้แล,
อานาปานะสะติ ภิกขะเว, ภาวิตา พะหุลีกะตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อานาปานสติอันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว,
มะหัปผะลา โหติ มะหานิสังสา,......ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่,
อานาปานะสะติ ภิกขะเว, ภาวิตา พะหุลีกะตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อานาปานสติอันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว,
จัตตาโร สะติปัฏฐาเน ปะริปูเรนติ,...ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์,
จัตตาโร สะติปัฏฐานา ภาวิตา พะหุลีกะตา,
สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว,
สัตตะโพชฌังเค ปะริปูเรนติ,..........ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์,
สัตตะโพชฌังคา ภาวิตา พะหุลีกะตา,
โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว,
วิชชา วิมุตติง ปะริปูเรนติ,.............ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์,
กะถัง ภาวิตา จะ ภิกขะเว, อานาปานะสะติ กะถัง พะหุลีกะตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อานาปานสติอันบุคคลเจริญทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า?
มะหัปผะลา โหติ มะหานิสังสา,.......จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่,
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ,.......................ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุในธรรมวินัยนี้,
อะรัญญะคะโต วา,.......................ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม,
รุกขะมูละคะโต วา,......................ไปแล้วสู่โคนไม้ก็ตาม,
สุญญาคาระคะโต วา,...................ไปแล้วสู่เรือนว่างก็ตาม,
นิสีทะติ ปัลลังกัง อาภุชิต๎วา,..........นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบแล้ว,
อุชุง กายัง ปะณิธายะ ปะริมุขัง สะติง อุปัฏฐะเปต๎วา,
ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น,
โส สะโต วะ อัสสะสะติ, สะโต ปัสสะสะติ,
เป็นผู้มีสติอยู่นั่นเทียว หายใจเข้า มีสติอยู่ หายใจออก,
(๑) ทีฆัง วา อัสสะสันโต ทีฆัง อัสสะปัสสะสามีติ ปะชานาติ,
เมื่อหายใจเข้ายาว, ออกยาว เธอก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว ออกยาว,
(๒) รัสสัง วา อัสสะสันโต รัสสัง อัสสะปัสสะสามีติ ปะชานาติ,
เมื่อหายใจเข้าสั้น, ออกสั้น เธอก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น ออกสั้น,
(๓) สัพพะกายะปะฏิสังเวที อัสสะปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
เธอพึงศึกษาว่า, เราจักรู้ทั่วกาย (กองลม) ทั้งหมด
จักหายใจเข้า หายใจออก,
(๔) ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง อัสสะปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
เธอพึงศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้ระงับอยู่,
จักหายใจเข้า หายใจออก,
...............(จบจตุกกะที่ ๑ กายานุปัสสนา)
(๕) ปีติปะฏิสังเวที อัสสะปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
เธอพึงศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ
จักหายใจเข้า หายใจออก,
(๖) สุขะปะฏิสังเวที อัสสะปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
เธอพึงศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข
จักหายใจเข้า หายใจออก,
(๗) จิตตะสังขาระปะฏิสังเวที อัสสะปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
เธอพึงศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตะสังขาร
จักหายใจเข้า หายใจออก,
(๘) ปัสสัมภะยัง จิตตะสังขารัง อัสสะปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
เธอพึงศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตตะสังขารให้ระงับอยู่
จักหายใจเข้า หายใจออก,
...............(จบจตุกกะที่ ๒ เวทนานุปัสสนา)
(๙) จิตตะปะฏิสังเวที อัสสะปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
เธอพึงศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต
จักหายใจเข้า หายใจออก,
(๑๐) อะภิปปะโมทะยัง จิตตัง อัสสะปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
เธอพึงศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่
จักหายใจเข้า หายใจออก,
(๑๑) สะมาทะหัง จิตตัง อัสสะปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
เธอพึงศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่
จักหายใจเข้า หายใจออก,
(๑๒) วิโมจะยัง จิตตัง อัสสะปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
เธอพึงศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่
จักหายใจเข้า หายใจออก,
...............(จบจตุกกะที่ ๓ จิตตานุปัสสนา)
(๑๓) อะนิจจานุปัสสี อัสสะปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
เธอพึงศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ
จักหายใจเข้า หายใจออก,
(๑๔) วิราคานุปัสสี อัสสะปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
เธอพึงศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ
จักหายใจเข้า หายใจออก,
(๑๕) นิโรธานุปัสสี อัสสะปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
เธอพึงศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ
จักหายใจเข้า หายใจออก,
(๑๖) ปะฏินิสสัคคานุปัสสี อัสสะปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ,
เธอพึงศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ
จักหายใจเข้า หายใจออก,
...............(จบจตุกกะที่ ๔ ธัมมานุปัสสนา)
เอวัง ภาวิตา โข ภิกขะเว, อานาปานะสะติ เอวัง พะหุลีกะตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล,
มะหัปผะลา โหติ มะหานิสังสา,.....ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่,
อิติ,...........................................ด้วยประการฉะนี้แล.
อริยมรรคมีองค์ ๘
..... (หันทะ มะยัง อะริยัฏฐังคิกะมัคคะปาฐัง ภะณามะ เส)
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค,
หนทางนี้แล เป็นหนทางอันประเสริฐ ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘,
เสยยะถีทัง, .. ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ,
สัมมาทิฏฐิ, ... ความเห็นชอบ, ....... สัมมาสังกัปโป, .. ความดำริชอบ,
สัมมาวาจา, ... การพูดจาชอบ, ...... สัมมากัมมันโต, . การทำการงานชอบ,
สัมมาอาชีโว, . การเลี้ยงชีวิตชอบ, . สัมมาวายาโม, ... ความพากเพียรชอบ,
สัมมาสะติ, ..... ความระลึกชอบ, .... สัมมาสะมาธิ, ..... ความตั้งใจมั่นชอบ,
............................... (องค์มรรคที่ ๑)
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาทิฏฐิ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเห็นชอบเป็นอย่างไรเล่า?
ยัง โข ภิกขะเว ทุกเข ญาณัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้อันใดเป็นความรู้ในทุกข์,
ทุกขะสะมุทะเย ญาณัง, ............ เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์,
ทุกขะนิโรเธ ญาณัง, ................. เป็นความรู้ในความดับแห่งทุกข์,
ทุกขะนิโรธะคามินิยา ปะฏิปะทายะ ญาณัง,
เป็นความรู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับทุกข์,
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาทิฏฐิ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า ความเห็นชอบ,
............................... (องค์มรรคที่ ๒)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสังกัปโป,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดำริชอบเป็นอย่างไรเล่า?
เนกขัมมะสังกัปโป, .................. ความดำริในการออกจากกาม,
อะพ๎ยาปาทะสังกัปโป, .............. ความดำริในการไม่มุ่งร้าย,
อะวิหิงสาสังกัปโป, ................... ความดำริในการไม่เบียดเบียน,
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสังกัปโป,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า ความดำริชอบ,
............................... (องค์มรรคที่ ๓)
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาวาจา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การพูดจาชอบเป็นอย่างไรเล่า?
มุสาวาทา เวระมะณี, .................. เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดไม่จริง,
ปิสุณายะ วาจายะ เวระมะณี, ....... เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด,
ผะรุสายะ วาจายะ เวระมะณี, ....... เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดคำหยาบ,
สัมผัปปะลาปา เวระมะณี, ............ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ,
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาวาจา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า การพูดจาชอบ,
............................... (องค์มรรคที่ ๔)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การทำการงานชอบเป็นอย่างไรเล่า?
ปาณาติปาตา เวระมะณี, .............. เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่า,
อะทินนาทานา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว,
กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย,
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า การทำการงานชอบ,
............................... (องค์มรรคที่ ๕)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเลี้ยงชีวิตชอบเป็นอย่างไรเล่า?
อิธะ ภิกขะเว อะริยะสาวะโก,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้,
มิจฉาอาชีวัง ปะหายะ, ................ ละการเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย,
สัมมาอาชีเวนะ ชีวิกัง กัปเปติ,
ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ชอบ,
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า การเลี้ยงชีวิตชอบ,
............................... (องค์มรรคที่ ๖)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาวายาโม,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพากเพียรชอบเป็นอย่างไรเล่า?
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ, ..................... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้,
อนุปปันนานัง ปาปะกานัง อะกุสะลานัง ธัมมานัง อะนุปปาทายะ, ฉันทัง
ชะเนติ, วายะมะติ, วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ,

ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายามปรารภความเพียร
ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น,
อุปปันนานัง ปาปะกานัง อะกุสะลานัง ธัมมานัง ปะหายะ, ฉันทัง ชะเนติ,
วายะมะติ, วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ,

ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายามปรารภความเพียร
ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อจะละอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว,
อะนุปปันนานัง กุสะลานัง ธัมมานัง อุปปาทายะ, ฉันทัง ชะเนติ, วายะมะติ,
วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ,

ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายามปรารภความเพียร
ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น,
อุปปันนานัง กุสะลานัง ธัมมานัง ฐิติยา, อะสัมโมสายะ ภิยโยภาวายะ,
เวปุลลายะ, ภาวะนายะ, ปาริปูริยา, ฉันทัง ชะเนติ, วายะมะติ วิริยัง
อาระภะติ, จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ,

ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายามปรารภความเพียร
ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อความตั้งอยู่, ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น,
ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว,
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาวายาโม,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า ความพากเพียรชอบ,
............................... (องค์มรรคที่ ๗)
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาสะติ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความระลึกชอบเป็นอย่างไรเล่า?
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ, ...................... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้,
กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ, ........... ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ,
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง,
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ,
ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้,
เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ,
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ,
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง,
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ,
ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้,
จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ, ........... ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ,
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง,
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ,
ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้,
ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ,
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ,
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง,
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ,
ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้,
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะติ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า ความระลึกชอบ,
............................... (องค์มรรคที่ ๘)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตั้งใจมั่นชอบเป็นอย่างไรเล่า?
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ, ...................... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้,
วิวิจเจวะ กาเมหิ, ......................... สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย,
วิวิจจะ อะกุสะเลหิ ธัมเมหิ, ............. สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย,
สะวิตักกัง สะวิจารัง, วิเวกะชัง, ปีติสุขัง ปะฐะมัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ,
เข้าถึงปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร, มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่,
วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา, ............ เพราะความที่วิตก วิจารทั้ง ๒ ระงับลง,
อัชฌัตตัง สัมปะสาทะนัง เจตะโส, เอโกทิภาวัง, อะวิตักกัง อะวิจารัง,
สะมาธิชัง ปีติสุขัง ทุติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ,

เข้าถึงทุติยฌาน, เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน,
ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร,
มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิแล้วแลอยู่,
ปีติยา จะ วิราคา, ............................ อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ,
อุเปกขะโก จะ วิหะระติ, สะโต จะ สัมปะชาโน,
ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ,
สุขัญจะ กาเยนะ ปะฏิสังเวเทติ, .......... และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย,
ยันตัง อะริยา อาจิกขันติ, อุเปกขะโก สะติมา สุขะวิหารีติ,
ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย, ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า,
“เป็นผู้อยู่
อุเบกขามีสติอยู่เป็นปรกติสุข” ดังนี้,
ตะติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ, .. เข้าถึงตติยฌานแล้วแลอยู่,
สุขัสสะ จะ ปะหานา, .......................... เพราะละสุขเสียได้,
ทุกขัสสะ จะ ปะหานา, ........................ และเพราะละทุกข์เสียได้,
ปุพเพวะ โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง อัตถังคะมา,
เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้ง ๒ ในกาลก่อน,
อะทุกขะมะสุขัง อุเปกขาสะติปาริสุทธิง, จะตุตถัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ,
เข้าถึงจตุตถฌาน, ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข,
มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่,
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า ความตั้งใจมั่นชอบ.

รวมบทสวดมนต์ – watphut.blogspot.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons