อสุภสูตร ....... (หันทะ มะยัง อะสุภะสุตตะปาฐัง ภะณามะ เส) อะสุภานุปัสสี ภิกขะเว วิหะระถะ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เธอทั้งหลายจงเป็นผู้พิจารณาตามเห็นซึ่งอารมณ์, โดยความเป็นของไม่งามอยู่เป็นปรกติเถิด, อานาปานัสสะติ จะ โว อัชฌัตตัง ปะริมุขัง สุปะติฏฐิตา โหตุ, จงเข้าไปตั้งสติอยู่เฉพาะหน้าด้วยดี ในลมหายใจเข้าออก, สัพพะสังขาเรสุ อะนิจจานุปัสสี โน วิหะระถะ, จงพิจารณาตามเห็นความไม่เที่ยง ในสังขารทั้งปวงอยู่เป็นปรกติเถิด, อะสุภานุปัสสีนัง ภิกขะเว กายัส๎มิง วิหะระตัง, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เมื่อเธอทั้งหลายตามพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งอารมณ์, โดยความเป็นของไม่งามโดยปรกติมีอยู่ในกาย, โย สุภายะ ธาตุยา ราคานุสะโย โส ปะหิยะติ, ย่อมละความเคยชินในความกำหนัด (ราคานุสัย), เพราะเห็นความงาม โดยความเป็นสักว่าธาตุเสียได้, อานาปานัสสะติ อัชฌัตตัง ปะริมุขัง สุปะติฏฐิตายะ, เมื่อเธอทั้งหลาย, เข้าไปตั้งสติไว้ด้วยดีเฉพาะหน้าในลมหายใจเข้าออก, เย พะหิรา วิตักกาสะยา วิฆาตะปักขิกา เตนะ โหนติ, ย่อมทำให้วิตกทั้งหลาย อันมีมาจากภายนอกให้นอนลง, ความคิดอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้นย่อมไม่มีเพราะวิตกนั้น, สัพพะสังขาเรสุ อะนิจจานุปัสสีนัง วิหะระตัง, เมื่อเธอทั้งหลาย, ตามพิจารณาเห็นซึ่งความไม่เที่ยง ในสังขารทั้งปวงอยู่เป็นประจำ, ยา อะวิชชา สา ปะฮียะติ ยา วิชชา สา อุปัชชะติ, ย่อมละอวิชชาเสียได้ ย่อมทำวิชชาให้เกิดขึ้น, อะสุภานุปัสสี กายัส๎มิง อานาปาเน ปะฏิสสะโต, ภิกษุผู้ตามพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งอารมณ์ ในกายว่าไม่งามโดยปรกติ, มีสติอยู่เฉพาะที่ลมหายใจเข้าออก, สัพพะสังขาระสะมะถัง ปัสสัง อาตาปี สัพพะทา, มีความเพียรพยายามอยู่ทุกเมื่อ, พิจารณาเห็นอยู่ซึ่งความสงบลงแห่งสังขารทั้งปวง, สะ เว สัมมัททะโส ภิกขุ ยะโต ตัตถะ วิมุจจะติ, ภิกษุนั้นแล, เป็นผู้เห็นโดยชอบ พยายามอยู่, ย่อมหลุดพ้นเพราะเหตุนั้น, อะภิญญา โวสิโต สันโต สะเว โยคาติโค มุนี, ภิกษุนั้นแล, เป็นผู้จบอภิญญา สงบระงับแล้ว, เป็นผู้ล่วงส่วนแห่งโยคะเสียได้ (กิเลสเป็นเครื่องประกอบ) ชื่อว่าเป็นมุนี, อิติ,.....ด้วยประการฉะนี้แล. สมาธิสูตร ....... (หันทะ มะยัง สะมาธิสุตตะปาฐัง ภะณามะ เส) สะมาธิง ภิกขะเว ภาเวถะ อัปปะมาณัง นิปะกา ปะติสสะตา, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เธอทั้งหลายจงมีปัญญารักษาตน มีสติเจริญสมาธิหาประมาณมิได้เถิด, สะมาธิง ภิกขะเว ภาวะยะตัง อัปปะมาณัง นิปะกานัง ปะติสสะตานัง, ปัญจะญาณานิ ปัจจัตตัญเญวะ อุปปัชชันติ, เมื่อเธอมีปัญญารักษาตน มีสติเจริญสมาธิหาประมาณมิได้อยู่, ญาณ ๕ อย่างย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน, กะตะมานิ ปัญจะ,.......ญาณ ๕ อย่างเป็นไฉน? อะยัง สะมาธิ ปัจจุปันนะสุโข เจวะ อายะติง จะ สุขะวิปาโกติ, ปัจจัตตัญเญวะ ญาณัง อุปปัชชะติ, คือญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า, สมาธินี้มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป, อะยัง สะมาธิ อะริโย นิรามิโสติ, ปัจจัตตัญเญวะ ญาณัง อุปปัชชะติ, ย่อมรู้เฉพาะตนว่า, สมาธินี้เป็นอริยะ ไม่แอบอิงอามิส, อะยัง สะมาธิ อะกาปุริสะเสวิโตติ, ปัจจัตตัญเญวะ ญาณัง อุปปัชชะติ, ย่อมรู้เฉพาะตนว่า, สมาธินี้อันคนเลวๆ ย่อมเสพไม่ได้เลย, อะยัง สะมาธิ สันโต ปะณีโต ปะฏิปัสสัทธิลัทโธ, เอโกทิภาวาธิคะโต นะ จะ สะสังขาระ นิคคัยหะ วาริตัปปัตโตติ, ปัจจัตตัญเญวะ ญาณัง อุปปัชชะติ, ย่อมรู้เฉพาะตนว่า, สมาธินี้เป็นของละเอียดปราณีต, ได้ด้วยความสงบระงับ, บรรลุได้ด้วยความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น, และมิใช่บรรลุได้ด้วยการข่มธรรมที่เป็นข้าศึก, ห้ามกิเลสด้วยจิตอันเป็นสสังขาร, โส โข ปะนาหัง อิมัง สะมาธิง, สะโต วะ สะมาปัชชามิ สะโต วุฏฐะหามีติ, ปัจจัตตัญเญวะ ญาณัง อุปปัชชะติ, ย่อมรู้เฉพาะตนว่า, เราย่อมมีสติเข้าสมาธินี้ได้ มีสติออกจากสมาธินี้ได้, สะมาธิง ภิกขะเว ภาเวถะ อัปปะมาณัง นิปะกา ปะติสสะตา, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เธอทั้งหลายจงมีปัญญารักษาตน มีสติเจริญสมาธิอันหาประมาณมิได้เถิด, สะมาธิง ภิกขะเว ภาวะยะตัง อัปปะมาณัง นิปะกานัง ปะติสสะตานัง, เมื่อเธอทั้งหลายมีปัญญารักษาตน มีสติเจริญสมาธิอันหาประมาณมิได้อยู่, อิมานิ ปัญจะ ญาณานิ ปัจจัตตัญเญวะ อุปปัชชันตี-ติ, ญาณคือความรู้แจ้งทั้ง ๕ ประการนี้แล ย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ ดังนี้. .......................................................(สมาธิสูตร ปญฺจองฺ ๒๒/๒๗/๒๕) .อรัญญสูตร ....... (หันทะ มะยัง อะรัญญะสุตตะปาฐัง ภะณามะ เส) ปัญจะหิ ภิกขะเว ธัมเมหิ สะมันนาคะโต, ภิกขู อานาปานะสะติง พะหุลีกะโรนโต, นะ จิรัสเสวะ อะกุปปัง ปะฏิวิชฌะติ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ, ทำให้มากซึ่ง อานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่, ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบต่อกาลไม่นานนัก, กะตะเมหิ ปัญจะหิ,........................ธรรม ๕ ประการอย่างไรเล่า, อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ,........................ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุในธรรมวินัยนี้, อัปปัฏโฐ โหติ,..............................เป็นผู้มีธุระน้อย, อัปปะกิจโจ โหติ,..........................เป็นผู้มีกิจน้อย, สุภะโร,........................................เป็นผู้เลี้ยงง่าย, สุสันโต โส ชีวิตะปะริกขาเรสุ,.........เป็นผู้มีความยินดียิ่งในบริขารแห่งชีวิต, อัปปะหาโร โหติ,...........................เป็นผู้มีอาหารน้อย, อะโนทะริกัตตัง อะนุยุตโต,............ประกอบความเป็นผู้ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง, อัปปะมิทโธ โหติ,..........................ย่อมเป็นผู้มีความง่วงนอนน้อย, ชาคะริยัง อะนุยุตโต,....................ประกอบความเพียรเป็นผู้ตื่นอยู่, อะรัญญะโก โหติ,.........................ย่อมเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร, ปันตะเสนาสะโน,..........................เป็นผู้อยู่ในเสนาสนะอันสงัด, ยะถาวิมุตตัง จิตตัง ปัจจะเวกขะติ,..ย่อมพิจารณาตามจิตที่หลุดพ้น, อิเม โข ภิกขะเว ปัญจะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะโต, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล, ภิกขุ อานาปานะสะติง พะหุลีกะโรนโต, ทำให้มากซึ่งอานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่, นะ จิรัสเสวะ อะกุปปัง ปะฏิวิชฌะติ, ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบต่อกาลไม่นานนัก, อิติ,.....ด้วยประการฉะนี้แล. พุทธภาษิตเกี่ยวกับนักบวช (หันทะ มะยัง ปัพพะชิตะปะฏิสังยุตตานิ พุทธาทิภาสิตานิ ภะณามะ เส) กุโส ยะถา ทุคคะหิโต หัตถะเมวานุกันตะติ, สามัญญัง ทุปปะรามัฏฐัง นิระยายูปะกัฑฒะติ, หญ้าคาที่บุคคลจะถอนแล้ว จับไม่ดี ย่อมบาดมือผู้จับ ฉันใด, การบวชถ้าปฏิบัติไม่ดีและย่อหย่อน ย่อมถูกฉุดไปนรกได้ ฉันนั้น, .......................................................(ตายนสูตร ๑๕/๗๐) เสยโย อะโยคุโฬ ภุตโต ตัตโต อัคคิสิขูปะโม, ยัญเจ ภุญเชยยะ ทุสสีโล รัฏฐะปิณฑัง อะสัญญะโต, ภิกษุกลืนกินก้อนเหล็กที่ลุกแดง ยังดีเสียกว่าเป็นผู้ทุศีล, ไม่สำรวมระวังแล้วกลืนกินก้อนข้าวของชาวบ้าน, .......................................................(ธรรมบท ๒๕/๔๗) ยัสสะ กัสสะจิ กายะคะตาสะติ อะภาวิตา อะพะหุลีกะตา, ละภะติ ตัสสะ มาโร โอตารัง ละภะติ ตัสสะ มาโร อารัมมะณัง, ภิกษุไม่เจริญกายคตาสติอยู่เป็นประจำแล้ว, ย่อมตกเป็นทาสของมาร มารย่อมอยู่เหนืออารมณ์, .......................................................(กยคตาสติสูตร ๑๔/๑๘๖) สัตติยา วิยะ โอมัฏโฐ ทัยหะมาเนวะ มัตถะเก, สักกายะทิฏฐิปะหานายะ สะโต ภิกขุ ปะริพพะเช, ภิกษุควรมีสติ ละความเห็นว่าเป็นตัวเป็นตน, งดเว้นดังคนถูกแทงด้วยหอกหรือถูกไฟไหม้ศีรษะ, .......................................................(วาสทัตตสูตร ๑๕/๗๗) เอกาสะนัง เอกะเสยยัง เอโก จะระมะตันทิโต, เอโก ทะมะยะมัตตานัง วะนันเต ระมิโต สิยา, ภิกษุควรนั่งคนเดียว ไม่เกียจคร้าน, จาริกไปคนเดียว ฝึกหัดตนคนเดียว ควรเป็นผู้ยินดีในการอยู่ป่า, สะโต ภิกขะเว ภิกขุ วิหะเรยยะ สัมปะชาโน, อะยัง อัมหากัง อะนุสาสะนี, ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่, นี่เป็นคำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย, .......................................................(สติสูตร ๑๙/๑๘๔) สัลละเป นิสิตะขัคคะปาณินา ปัณฑิโต อะปิ ปิสาจะโทสินา, อุคคะเตชัง อุระคังปิ อาสิเท เอโก เอกายะ ปะมุทายะ นาละเป, บัณฑิตพึงเจรจากับบุรุษผู้มีดาบอันคมกล้า, พึงเจรจากับปีศาจผู้ดุร้าย แม้จะพึงเข้าไปนั่งใกล้งูพิษร้าย, แต่ไม่ควรเจรจากับหญิงตัวต่อตัวเลย, .......................................................(กุณาสชาดก ๒๗/๑๐๘) อัปปะมัตตา สะติมันโต สุสีลา โหถะ ภิกขะโว, สุสะมาหิตะสังกัปปา สะจิตตะมะนุรักขะถะ, ภิกษุจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีลอันดี, จงมีความดำริตั้งมั่น ตามรักษาจิตของตนเถิด, .......................................................(มหาปรินิพพานสูตร ๑๐/๑๒๐) ธัมมาราโม ธัมมะระโต ธัมมัง อะนุวิจินตะยัง, ธัมมัง อะนุสสะรัง ภิกขุ สัทธัมมา นะ ปะริหายะติ, ภิกษุผู้มีธรรมเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในธรรม ค้นคว้าธรรม, ระลึกถึงธรรม ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม, สิญจะ ภิกขุ อิมัง นาวัง สิตตา เต ละหุเมสสะติ, เฉต๎วา ราคัญจะ โทสัญจะ ตะโต นิพพานะเมหิสิ, ภิกษุ เธอจงวิดเรือนี้ เรือที่เธอวิดแล้วย่อมเบา จักถึงเร็ว, เธอตัดราคะและโทสะแล้ว จักถึงนิพพานในภายหลัง, .......................................................(ธรรมบท ๒๕/๕๔) ภิกขู สัมมา วิหะเรยยุง อะสุญโญ โลโก อะระหันเตหิ อัสสะ, ภิกษุเหล่านี้พึงเป็นอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย, .......................................................(มหาปรินิพพานสูตร ๑๐/๑๔๕) สะมาธิง ภิกขะเว ภาเวถะ สะมาหิโต ภิกขะเว ภิกขุ ยะถาภูตัง ปะชานาติ, ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด, ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง, .......................................................(สมาธิสูตร ๑๙/๔๗๑) โส อัตตะคุตโต สะติมา สุขัง ภิกขุ วิหาหิสิ, ภิกษุผู้มีสติคุ้มครองตนแล้วย่อมอยู่เป็นสุข, .......................................................(ธรรมบท ๒๕/๕๕) สะติญจะ ขะวาหัง ภิกขะเว สัพพัตติกัง วะทามิ, ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่า สติมีประโยชน์ในที่ทั้งปวง, อิติ,.....ด้วยประการฉะนี้แล. .......................................................(อัคคิสูตร ๑๙/๑๕๗) . |
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น