บทวันทา อุกาสะ วันทามิ ภันเต, เจติยัง สัพพัง สัพพัตถะฐาเน สุปะติฏฐิตัง, สารีริกะธาตุ มะหาโพธิง พุทธะรูปัง สะกะลัง สะทา, กายะสา วะจะสา มะนะสา, เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต, สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน, จาปิ สัพพะทา, อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต, มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง, สาธุ สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ....(กราบ ๓ ครั้ง) ...คำประกาศสมมติอุโบสถ สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง, สังโฆ (อิตถันนามัง) อุโปสะถาคารัง สัมมันเนยยะ, เอสา ญัตติ, สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, สังโฆ (อิตถันนามัง) อุโปสะถาคารัง สัมมันนะติ, ยัสสายัส๎มะโต ขะมะติ (อิตถันนามัสสะ) อุโปสะถาคารัสสะ สัมมะติ, โส ตุณ๎หัสสะ, ยัสสะ นักขะมะติ โส ภาเสยยะ, สัมมะโต สังเฆนะ (อิตถันนาโม) อุโปสะถาคารัง ขะมะติ สังฆัสสะ, ตัส๎มา ตุณ๎ฮี, เอวะเมตัง ธาระยามิ. (หมายเหตุ) คำในวงเล็บ ให้เปลี่ยนตามสถานที่ที่ลงปาฏิโมกข์นั้นๆ ดังนี้ วิหารัง วิหาร, ปาสาทัง ปราสาท, อัฑฒะโยคัง เรือนมุงแถบเดียว, หัมมิยัง เพิงหมาแหงน, เรือนโล้น, เรือนไม่มีหลังคา, คูหา ถ้ำ. ...คำสวดสภาคาบัติ สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, อะยัง สัพโพ สังโฆ สะภาคัง อาปัตติง อาปันโน, ยะทา อัญญัง ภิกขุง สุทธัง อะนาปัตติกัง ปัสสิสสะติ, ตะทา ตัสสะ สันติเก ตัง อาปัตติง ปะฏิกะริสสะติ. คำแปล ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทั้งหมดนี้ต้องสภาคาบัติ เห็นภิกษุรูปอื่นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติเมื่อใด จักทำคืนอาบัตินั้นในสำนักเธอเมื่อนั้น (ครั้นแล้วพึงทำอุโบสถ สวดปาฏิโมกข์ แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่อุโบสถ เพราะข้อที่ต้องสภาคาบัตินั้น เป็นปัจจัย) ..คำอาราธนาธรรม พ๎รัห๎มา จะ โลกาธิปะตี, สะหัมปะติ, กัตอัญชะลี อันธิวะรัง อะยาจะถะ, สันตีธะ สัตตาปปะระชักขะชาติกา, เทเสตุ ธัมมัง อะนุกัมปิมัง ปะชัง ฯ ท้าวสหัมบดีพรหม.............เป็นบรมในพรหมมา ทรงฤทธิศักดา..................กว่าบริษัททุกหมู่พรหม น้อมหัตถ์นมัสการ..............ประดิษฐาน ณ ที่สม ควรแล้วจึงบังคม...............ชุลีบาทพระสัมมา ขอพรอันประเสริฐ..............วาระเลิศมโหฬาร์ ปวงสัตว์ในโลกา...............กิเลสน้อยก็ยังมี ขอองค์พระจอมปราชญ์......สู่ธรรมมาสอันรุจี โปรดปวงประชานี้.............ท่านจงโปรดแสดงธรรม นิมนต์ท่านเจ้าขา..............ผู้ปรีชาอันเลิศล้ำ โปรดแสดงพระสัจธรรม......เทศนาและวาที เพื่อให้สัมฤทธิผล.............แก่ปวงชนบรรดามี สู่สุขเกษมศรี...................สมดังเจตนาเทอญ ฯ ..คำสาธุการเมื่อพระเทศน์จบ ...(เมื่อพระแสดงธรรมจบ ให้รับสาธุการพร้อมกันด้วยถ้อยคำข้างล่างนี้ทั้งหมด .........................ว่าเป็นวรรค หยุดตามที่จุดไว้ทุกๆ จุด) สาธุ พุทธะสุโพธิตา, .......สาธุ ! ความตรัสรู้ดีจริงของพระพุทธเจ้า. สาธุ ธัมมะสุธัมมะตา, ......สาธุ ! ความเป็นธรรมดีจริงของพระธรรม. สาธุ สังฆัสสุปะฏิปัตติ, .....สาธุ ! ความปฏิบัติดีจริงของพระสงฆ์. อะโห พุทโธ, ..................พระพุทธเจ้า น่าอัศจรรย์จริง. อะโห ธัมโม, ...................พระธรรมเจ้า น่าอัศจรรย์จริง. อะโห สังโฆ, ...................พระสงฆเจ้า น่าอัศจรรย์จริง. อะหัง พุทธัญจะ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ สะระณัง คะโต (หญิงสวด คะตา). ข้าพเจ้าถึงแล้ว, ซึ่งพระพุทธเจ้า, พระธรรมเจ้า, พระสงฆเจ้า, ว่าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง. อุปาสะกัตตัง (หญิงสวด อุปาสิกัตตัง) เทเสสิง ภิกขุสังฆัสสะ สัมมุขา. ข้าพเจ้าขอแสดงตน, ว่าเป็นอุบาสก (หญิงสวด อุบาสิกา), ในที่จำเพาะหน้าพระภิกษุสงฆ์. เอตัง เม สะระณัง เขมัง, เอตัง สะระณะมุตตะมัง. พระรัตนตรัยนี้, เป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าอันเกษม, พระรัตนตรัยนี้, เป็นที่พึ่งอันสูงสุด. เอตัง สะระณะมาคัมมะ, สัพพะทุกขา ปะมุจจะเย. เพราะอาศัยพระรัตนตรัยนี้, เป็นที่พึ่ง, ข้าพเจ้าพึงพ้นทุกข์ทั้งปวง. ยะถาพะลัง จะเรยยาหัง สัมมาสัมพุทธะสาสะนัง. ข้าพเจ้าจักประพฤติ, ซึ่งพระธรรมคำสั่งสอน, ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, โดยสมควรแก่กำลัง. ทุกขะนิสสะระณัสเสวะ ภาคีอัสสัง (หญิงสวด ภาคินิสสัง) อะนาคะเต. ขอข้าพเจ้าพึงมีส่วนแห่งพระนิพพาน, อันเป็นที่ยกตนออกจากทุกข์, ในอนาคตกาล, เบื้องหน้านี้เทอญ. ..คำประกาศอุโบสถ อัชชะ โภนโต ปักขัสสะ ปัณณะระสีทิวะโส, เอวะรูโป โข โภนโต ทิวะโส, พุทเธนะ ภะคะวะตา ปัญญัตตัสสะ ธัมมัสสะวะนัสสะ เจวะ, ตะทัตถายะ, อุปาสะกะอุปาสิกานัง, อุโปสะถะกัมมัสสะ จะ กาโล โหติ, หันทะ มะยัง โภนโต สัพเพ อิธะ สะมาคะตา, ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมานุธัมมะปะฏิปัตติยา ปูชะนัตถายะ, อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง, อุโปสะถัง อุปะวะสิสสามาติ, กาละปะริจเฉทัง กัต๎วา ตัง ตัง เวระมะณิง อารัมมะณัง กะริต๎วา, อะวิกขิตตะจิตตา หุต๎วา สักกัจจัง อุโปสะถังคานิ สะมาทิเยยยามะ, อิทิสัง หิ อุโปสะถะกาลัง สัมปัตตานัง อัมหากัง ชีวิตัง มา นิรัตถะกัง โหตุ ฯ ข้าพเจ้าขอประกาศเริ่มเรื่องความที่จะได้สมาทานรักษาอุโบสถ ตามกาลสมัย พร้อมไปด้วยองค์ ๘ ประการ ให้สาธุชนซึ่งจะตั้งจิตสมาทานทราบทั่วกันก่อน แต่สมาทาน ณ กาลบัดนี้ ด้วยวันนี้เป็นวันปัณณรสีดิถีที่ ๑๕ แห่งปักษ์มาถึงแล้ว ก็แลวันเช่นนี้เป็นกาลที่จะฟังธรรม และจะทำการรักษาอุโบสถ ของอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย เพื่อประโยชน์แก่การฟังธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้นั้น ขอกุศลอันยิ่งใหญ่ คือตั้งจิตสมาทานอุโบสถ จงเกิดมีแก่เราทั้งหลายบรรดาที่มาประชุมอยู่ ณ ที่นี้ เราทั้งหลายพึงมีจิตยินดีว่า จะรักษาอุโบสถประกอบไปด้วยองค์ ๘ ประการ วัน ๑ คืน ๑ ณ เวลาวันนี้แล้ว พึงตั้งจิตคิดเว้นไกลจากทำสัตว์ซึ่งมีชีวิตให้ตกล่วงไป คือฆ่าสัตว์เองและใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ๑, เว้นจากเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ คือลักและฉ้อ และใช้ให้ผู้อื่นลักและฉ้อ ๑, เว้นจากกรรมที่เป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ ๑, เว้นจากเจรจาคำเท็จอันไม่จริง คือล่อลวงอำพรางท่านผู้อื่น ๑, เว้นจากดื่มสุราและเมรัย สารพัดบรรดาน้ำกลั่นน้ำดองที่เป็นของทำผู้ดื่มแล้วให้เมา เป็นเหตุที่ตั้งแห่งความ ประมาท ๑, เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ตั้งแต่อาทิตย์เที่ยงแล้วไปจนถึงอรุณ ขึ้นใหม่ ๑, เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้องประโคมดนตรี ดูการเล่น และทัดทรงลูบไล้ทาตัว ด้วยดอกไม้ เครื่องหอมเครื่องทาเครื่องย้อม เครื่องแต่งต่างๆ ๑, เว้นจากนั่งนอน เหนือที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ คือเตียงตั่งที่มีเท้าสูงเกินประมาณ และที่นอนใหญ่ ภายในมีนุ่นและสำลีเครื่องลาดวิจิตรงาม ๑, พึงทำความเว้นจากองค์ที่จะพึงเว้นทั้ง ๘ ประการนี้เป็นอารมณ์ อย่ามีจิตฟุ้งซ่านส่งไปที่อื่น พึงตั้งจิตสมาทานองค์อุโบสถ ๘ ประการนี้โดยเคารพเถิด เพื่อจะบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยข้อปฏิบัติอย่างยิ่ง ตามกำลังของเราทั้งหลายที่เป็นคฤหัสถ์ ชีวิตของเราทั้งหลายซึ่งเป็นมาจนถึง วันอุโบสถเช่นนี้ จงอย่าล่วงไปเปล่าโดยปราศจากประโยชน์เลย ฯ (หมายเหตุ) “ปัณณะระสีทิวะโส” และคำแปลว่า “วันนี้เป็นวันปัณณรสีดิถีที่ ๑๕” ประกาศเฉพาะวัน ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็นวัน ๑๔ ค่ำ เปลี่ยนคำประกาศว่า “จาตุททะสีทิวะโส” คำแปลว่า “วันนี้เป็นวันจาตุทสีดิถีที่ ๑๔” ถ้าวัน ๘ ค่ำ เปลี่ยนคำประกาศว่า “อัฏฐะมีทิวะโส” คำแปลว่า “วันนี้เป็นวันอัฏฐมีดิถีที่ ๘” นอกนั้นประกาศตามแบบ ปัจจเวกขณองค์อุโบสถศีล (หันทะ มะยัง อุโปสะถัฏฐังคะ ปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เส) ............................... (องค์อุโบสถที่ ๑) ยาวะชีวัง อะระหันโต, จำเดิมแต่ต้นจนตลอดชีวิต พระอรหันต์ทั้งหลาย, ปาณาติปาตัง ปะหายะ, ท่านละการฆ่าสัตว์ที่มีชีวิตแล้ว, ปาณาติปาตา ปะฏิวิระตา, เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์มีชีวิตแล้ว, นิหิตะทัณฑา นิหิตะสัตถา, ทิ้งเครื่องทุบตีแล้ว, ทิ้งเครื่องศัสตราแล้ว, ลัชชี ทะยาปันนา, มีความละอายแก่บาป, ถึงพร้อมแล้วด้วยความขวนขวายเพราะกรุณา, สัพพะปาณะภูตะหิตานุกัมปิโน วิหะรันติ, เป็นผู้เฉยไม่ได้ในการเกื้อกูลแก่สัตว์มีชีวิตทั้งปวง, อะหัมปัชชะ อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง, แม้เราในวันนี้ ตลอดคืน ๑ วัน ๑ นี้, ปาณาติปาตัง ปะหายะ, ก็ละการฆ่าสัตว์มีชีวิตแล้ว, ปาณาติปาตา ปะฏิวิระโต (หญิงสวด ระตา), เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์มีชีวิตแล้ว, นิหิตะทัณโฑ (หญิงสวด ทัณฑา) นิหิตะสัตโถ (หญิงสวด สัตถา), ทิ้งเครื่องทุบตีแล้ว, ทิ้งเครื่องศัสตราแล้ว, ลัชชี (หญิงสวด ลัชชินี) ทะยาปันโน (หญิงสวด ปันนา), มีความละอายแก่บาป, ถึงพร้อมแล้วด้วยความขวนขวายเพราะกรุณา, สัพพะปาณะภูตะหิตานุกัมปิโน (หญิงสวด กัมปินี) วิหะรามิ, เป็นผู้เฉยไม่ได้ในการเกื้อกูลแก่สัตว์มีชีวิตทั้งปวง, อิมินาปิ อังเคนะ อะระหะตัง อะนุกะโรมิ, เราทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย, ด้วยองค์แห่งอุโบสถแม้นี้, อุโปสะโถ จะ เม อุปะวุตโถ ภะวิสสะติ, และอุโบสถจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว, ...............................(องค์อุโบสถที่ ๒) ยาวะชีวัง อะระหันโต, จำเดิมแต่ต้นจนตลอดชีวิต พระอรหันต์ทั้งหลาย, อะทินนาทานัง ปะหายะ, ท่านละการถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ให้แล้ว, อะทินนาทานา ปะฏิวิระโต, เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ให้แล้ว, ทินนาทายี ทินนะปาฏิกังขี, ถือเอาแต่สิ่งของที่เขาให้, มีความมุ่งหวังแต่สิ่งของที่เขาให้, อะเถเนนะ สุจิภูเตนะ อัตตะนา วิหะรันติ, มีตนเป็นคนไม่ขโมย, มีตนเป็นคนสะอาดเป็นอยู่, อะหัมปัชชะ อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง, แม้เราในวันนี้ ตลอดคืน ๑ วัน ๑ นี้, อะทินนาทานัง ปะหายะ, ก็ละการถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ให้แล้ว, อะทินนาทานา ปะฏิวิระโต (หญิงสวด ระตา), เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ให้แล้ว, ทินนาทายี (หญิงสวด ทายินี) ทินนะปาฏิกังขี (หญิงสวด กังขินี), ถือเอาแต่สิ่งของที่เขาให้, มีความมุ่งหวังแต่สิ่งของที่เขาให้, อะเถเนนะ สุจิภูเตนะ อัตตะนา วิหะรามิ, มีตนเป็นคนไม่ขโมย, มีตนเป็นคนสะอาดเป็นอยู่, อิมินาปิ อังเคนะ อะระหะตัง อะนุกะโรมิ, เราทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย, ด้วยองค์แห่งอุโบสถแม้นี้, อุโปสะโถ จะ เม อุปะวุตโถ ภะวิสสะติ, และอุโบสถจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว, ...............................(องค์อุโบสถที่ ๓) ยาวะชีวัง อะระหันโต, จำเดิมแต่ต้นจนตลอดชีวิต พระอรหันต์ทั้งหลาย, อะพ๎รัห๎มะจะริยัง ปะหายะ, ท่านละความประพฤติอันมิใช่พรหมจรรย์เสียแล้ว, พ๎รัห๎มะจารี อาราจารี, เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์, ประพฤติห่างไกลจากกามคุณ, วิระตา เมถุนา คามะธัมมา, เว้นจากการประพฤติของคนที่อยู่กันเป็นคู่, อันเป็นของสำหรับชาวบ้าน, อะหัมปัชชะ อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง, แม้เราในวันนี้ ตลอดคืน ๑ วัน ๑ นี้, อะพ๎รัห๎มะจะริยัง ปะหายะ, ก็ละความประพฤติอันมิใช่พรหมจรรย์เสียแล้ว, พ๎รัห๎มะจารี (หญิงสวด จารินี) อาราจารี (หญิงสวด จารินี), เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์, ประพฤติห่างไกลจากกามคุณ, วิระโต (หญิงสวด ระตา) เมถุนา คามะธัมมา, เว้นจากการประพฤติของคนที่อยู่กันเป็นคู่, อันเป็นของสำหรับชาวบ้าน, อิมินาปิ อังเคนะ อะระหะตัง อะนุกะโรมิ, เราทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย, ด้วยองค์แห่งอุโบสถแม้นี้, อุโปสะโถ จะ เม อุปะวุตโถ ภะวิสสะติ, และอุโบสถจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว, ...............................(องค์อุโบสถที่ ๔) ยาวะชีวัง อะระหันโต, จำเดิมแต่ต้นจนตลอดชีวิต พระอรหันต์ทั้งหลาย, มุสาวาทัง ปะหายะ, ท่านละการพูดเท็จแล้ว, มุสาวาทา ปะฏิวิระตา, เว้นขาดจากการพูดเท็จแล้ว, สัจจะวาทิโน สัจจะสันธา, เป็นผู้พูดแต่คำจริง, ธำรงไว้ซึ่งความจริง, เฐตา ปัจจะยิกา, เป็นผู้มีคำพูดเชื่อถือได้, เป็นผู้พูดมีเหตุผล, อะวิสังวาทะกา โลกัสสะ, ไม่เป็นคนลวงโลก, อะหัมปัชชะ อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง, แม้เราในวันนี้ ตลอดคืน ๑ วัน ๑ นี้, มุสาวาทา ปะหายะ, ก็ละการพูดเท็จแล้ว, มุสาวาทา ปะฏิวิระโต (หญิงสวด ระตา), เว้นขาดจากการพูดเท็จแล้ว, สัจจะวาที (หญิงสวด วาทินี) สัจจะสันโธ (หญิงสวด สันธา), เป็นผู้พูดแต่คำจริง, ธำรงไว้ซึ่งความจริง, เฐโต (หญิงสวด เฐตา) ปัจจะยิโก (หญิงสวด ยิกา), เป็นผู้มีคำพูดเชื่อถือได้, เป็นผู้พูดมีเหตุผล, อะวิสังวาทะโก (หญิงสวด วาทิกา) โลกัสสะ, ไม่เป็นคนลวงโลก, อิมินาปิ อังเคนะ อะระหะตัง อะนุกะโรมิ, เราทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย, ด้วยองค์แห่งอุโบสถแม้นี้, อุโปสะโถ จะ เม อุปะวุตโถ ภะวิสสะติ, และอุโบสถจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว, ...............................(องค์อุโบสถที่ ๕) ยาวะชีวัง อะระหันโต, จำเดิมแต่ต้นจนตลอดชีวิต พระอรหันต์ทั้งหลาย, สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานัง ปะหายะ, ท่านละการดื่มสุราและเมรัย, อันเป็นที่ตั้งของความประมาทแล้ว, สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา ปะฏิวิระตา, เว้นขาดจากการดื่มสุราและเมรัย, อันเป็นที่ตั้งของความประมาทแล้ว, อะหัมปัชชะ อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง, แม้เราในวันนี้ ตลอดคืน ๑ วัน ๑ นี้, สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานัง ปะหายะ, ก็ละการดื่มสุราและเมรัย, อันเป็นที่ตั้งของความประมาทแล้ว, สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา ปะฏิวิระโต (หญิงสวด ระตา), เว้นขาดจากการดื่มสุราและเมรัย, อันเป็นที่ตั้งของความประมาทแล้ว, อิมินาปิ อังเคนะ อะระหะตัง อะนุกะโรมิ, เราทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย, ด้วยองค์แห่งอุโบสถแม้นี้, อุโปสะโถ จะ เม อุปะวุตโถ ภะวิสสะติ, และอุโบสถจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว, ...............................(องค์อุโบสถที่ ๖) ยาวะชีวัง อะระหันโต, จำเดิมแต่ต้นจนตลอดชีวิต พระอรหันต์ทั้งหลาย, เอกะภัตติกา, ท่านเป็นผู้มีอาหารวัน ๑ เพียงหนเดียว, รัตตูปะระตา, งดการบริโภคในราตรี, วิระตา วิกาละโภชะนา, เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล, อะหัมปัชชะ อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง, แม้เราในวันนี้ ตลอดคืน ๑ วัน ๑ นี้, เอกะภัตติโก (หญิงสวด ติกา), ก็เป็นผู้มีอาหารวัน ๑ เพียงหนเดียว, รัตตูปะระโต (หญิงสวด ระตา), งดการบริโภคในราตรี, วิระโต (หญิงสวด ระตา) วิกาละโภชะนา, เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล, อิมินาปิ อังเคนะ อะระหะตัง อะนุกะโรมิ, เราทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย, ด้วยองค์แห่งอุโบสถแม้นี้, อุโปสะโถ จะ เม อุปะวุตโถ ภะวิสสะติ, และอุโบสถจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว, ...............................(องค์อุโบสถที่ ๗) ยาวะชีวัง อะระหันโต, จำเดิมแต่ต้นจนตลอดชีวิต พระอรหันต์ทั้งหลาย, นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนะ มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะ มัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา ปะฏิวิระตา, ท่านเป็นผู้เว้นขาดแล้ว, จากการฟ้อนรำ การขับเพลง การดนตรี การดูการเล่น, การทัดทรงสวมใส่ การประดับ การตกแต่งตน, ด้วยพวงมาลา ด้วยเครื่องกลิ่นและเครื่องผัดทา, อะหัมปัชชะ อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง, แม้เราในวันนี้ ตลอดคืน ๑ วัน ๑ นี้, นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนะ มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะ มัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา ปะฏิวิระโต (หญิงสวด ระตา), ก็เป็นผู้เว้นขาดแล้ว, จากการฟ้อนรำ การขับเพลง การดนตรี การดูการเล่น, การทัดทรงสวมใส่ การประดับ การตกแต่งตน, ด้วยพวงมาลา ด้วยเครื่องกลิ่นและเครื่องผัดทา, อิมินาปิ อังเคนะ อะระหะตัง อะนุกะโรมิ, เราทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย, ด้วยองค์แห่งอุโบสถแม้นี้, อุโปสะโถ จะ เม อุปะวุตโถ ภะวิสสะติ, และอุโบสถจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว, ...............................(องค์อุโบสถที่ ๘) ยาวะชีวัง อะระหันโต, จำเดิมแต่ต้นจนตลอดชีวิต พระอรหันต์ทั้งหลาย, อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนัง ปะหายะ, ท่านละการนอนบนที่นอนสูง และที่นอนใหญ่แล้ว, อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา ปะฏิวิระตา, เว้นขาดจากการนอนบนที่นอนสูง และที่นอนใหญ่แล้ว, นีจะเสยยัง กัปเปมิ, มัญจะเก วา ติณะสันถะระเก วา, ย่อมสำเร็จการนอนบนที่นอนอันต่ำ, บนเตียงน้อย หรือบนเครื่องลาดอันทำด้วยหญ้า, อะหัมปัชชะ อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง, แม้เราในวันนี้ ตลอดคืน ๑ วัน ๑ นี้, อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนัง ปะหายะ, ก็ละการนอนบนที่นอนสูง และที่นอนใหญ่แล้ว, อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา ปะฏิวิระโต (หญิงสวด ระตา), เว้นขาดจากการนอนบนที่นอนสูง และที่นอนใหญ่แล้ว, นีจะเสยยัง กัปเปมิ, มัญจะเก วา ติณะสันถะระเก วา, ย่อมสำเร็จการนอนบนที่นอนอันต่ำ, บนเตียงน้อย หรือบนเครื่องลาดอันทำด้วยหญ้า, อิมินาปิ อังเคนะ อะระหะตัง อะนุกะโรมิ, เราทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย, ด้วยองค์แห่งอุโบสถแม้นี้, อุโปสะโถ จะ เม อุปะวุตโถ ภะวิสสะติ, และอุโบสถจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว, เอวัง อุปะวุตโถ โข ภิกขะเว, อัฏฐังคะสะมันนาคะโต อุโปสะโถ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ที่พระอริยสาวกเข้าอยู่แล้วด้วยอาการอย่างนี้, มะหัปผะโล โหติ มะหานิสังโส, ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่, มะหาชุติโก มะหาวิปผาโร, มีความรุ่งเรืองใหญ่ มีความแผ่ไพศาลใหญ่, อิติ,.....ด้วยประการฉะนี้แล. . |
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น