DSC08813 

วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553

หลวงพระบาง - หลวงพระบาง รวบรวมข้อมูลและรูปภาพของ หลวงพระบาง อ. จ. หลวงพระบาง

หลวงพระบาง - ข้อมูลทั่วไป
       เหตุผลต้นเรื่อง
      เมื่อฉันเริ่มต้นที่จะเล่าเรื่องราวของเมืองมรดกโลกอย่างหลวงพระบาง ตามที่พี่ตะลอนได้มอบหมาย และไว้วางใจเพราะเห็นว่าเดินทางไปบ่อยกว่าคนอื่น ๆ อาจจะพอมีความทรงจำเกี่ยวกับรายละเอียดต่าง ๆ ของหลวงพระบางมากกว่าคนอื่นอยู่พอสมควร เมื่อรับงานนี้ก็เป็นเวลาเดียวกับที่ฉันรู้ตัวว่าตัวเองมีความรู้เกี่ยวกับหลวงพระบางเพียงแค่เศษเสี้ยวน้อยนิดเท่านั้น เมื่อเริ่มต้นหยิบหนังสือเล่มหนึ่งที่คิดว่าจะบอกเล่าเรื่องราว เกี่ยวกับเมืองเล็ก ๆ เมืองนี้ได้ทั้งหมด ฉันก็รู้ตัวอีกว่าฉันจะต้องหาหนังสือเล่มอื่นมาอ่านเพิ่มอีกหลายเล่ม
      หลวงพระบาง เมืองเล็ก ๆ ที่ฉันสามารถใช้เวลาเพียงวันเดียวเช่า และปั่นจักรยานชมเมืองได้ทุกซอกทุกมุมโดยที่ไม่ต้องกลัวว่าจะหลง และไม้ต้องกลัวว่าจะเหนื่อย แต่ด้วยระยะเวลาเพียงวันเดียวฉันไม่สามารถซึมซับเอาบรรยากาศความเป็นหลวงพระบางได้ทั้งหมด ทุก ๆ ครั้งที่ฉันได้มีโอกาสพาลูกทัวร์มาเยี่ยมยามเมืองนี้ ฉันรู้สึกเหมือนว่าได้กลับบ้าน มันอบอุ่นอย่างประหลาด และตื้นตันจนยากจะอธิบาย ทุก ๆ คืนที่เราพักค้างแรมที่นั่น ฉันจะแอบเช่าจักรยานปั่นไปรอบเมือง เพื่อสูดกลิ่นอาย และซึมซับเอาบรรยากาศทุก ๆ อย่างไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่ฉันจะทำได้ ฉันปั่นจักรยานไปรอบ ๆ เมืองชั่วโมงแล้วชั่วโมงเล่าอย่างไม่รู้เบื่อ ถึงแม้ว่าในตอนกลางวันเราจะต้องใช้เวลานั่งรถตลอดทั้งวันจาก เมืองเวียงจันทร์มายังเมืองหลวงพระบาง คุณอาจจะคิดว่า ผู้หญิงตัวเล็ก ๆ ปั่นจักรยานคนเดียวในตอนกลางคืน ต่างบ้านต่างเมืองไม่กลัวอันตรายหรือ คำตอบของฉันคือไม่ เพราะฉันไว้ใจคนเมืองนี้ แม้หลวงพระบางจะถูกกระแสทุนนิยมรุมเร้าหนักขึ้นเรื่อย ๆ มีคนหลากหลายเชื้อชาติแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมยาม และนำเอาวัฒนธรรมภายนอกเข้ามา เพราะถือได้ว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ติดอันดับไปแล้ว แต่สิ่งเหล่านี้ไม่เคยเปลี่ยนใจคนเมืองหลวง พวกเขายังคงใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย สมถะ ไม่โลภไม่แก่งแย่งใคร ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้ฉันรัก และหลงไหลเมืองนี้ นอกจากตึกเก่า ๆ สมัยฝรั่งเศล และวัดวาอารามศิลปะล้านช้างอันทรงคุณค่า
      คำว่า ‘ลาว’ มาจากไหน
      ลาว คำนี้มีที่มาอยู่หลายที่ด้วยกัน บ้างก็ว่ามาจากคำว่า “ลัวะ” หรือ “ละว้า” ชนชาติที่อาศัยอยู่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนแถบนี้มาก่อนแล้วดังจะเห็นได้จากหลักฐานเกี่ยวกับการฝังศพหินตั้งและไหหิน เมื่อพวกไทยอพยพมาอยู่ในแถบนี้จึงเรียกคนเหล่าว่า “ลาว” บ้างก็ว่าคนชาติลาวเกิดมาจากน้าเต้าใหญ่สองลูก ในภาษาบาลีเรียกน้ำเต้าว่า “ลาวุ” แล้วเพี้ยนมาเป็น “ลาว” ในพงศาวดารจีนได้กล่าวว่ามีพี่น้องอยู่ 9 คน ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของคนชาติลาวเรียกว่า “พวกลี” ต่อมาเสียงเพี้ยนเป็น “ลุง” แล้วเพี้ยนเป็น “ลวง” ในที่สุดกลายมาเป็น “ลาว” และบ้างก็ว่า “ลาว” คือคำเดียวกับคำว่า “ดาว” เนื่องจากแต่เดิมนั้นพวกลาวอาศัยอยู่บนที่ราบสูงในประเทศจีน ถือตัวว่าเป็นผู้มีความเจริญสืบเชื้อสายมาจากแถน เทียน ไท ไท้ ซึ่งมีความหมายว่า “ฟ้า” เหมือนกันเพราะเหตุนี้พวกลาวจึงมีลัทธิถือผีฟ้ามาแต่เดิม แต่ก็มีนักปราชญ์บางท่านเชื่อว่า
      ลาว อาจเพี้ยนมาจากคำว่าหล้ง ลี ลุง ลวง แล้วเพี้ยนมาเป็นหลวง ก็ได้ ดังนั้น ลาว จึงมีความหมายว่าใหญ่ หรือเจริญ และชนชาติลาวถือกำเนิดมาพร้อมๆกับชนชาติจีน นับว่าเป็นชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกอีกชาติหนึ่ง และมีความเจริญไม่แพ้ชาติอื่นๆ ในยุคสมัยเดียวกัน

หลวงพระบาง - หลวงพระบาง รวบรวมข้อมูลและรูปภาพของ หลวงพระบาง อ. จ. หลวงพระบาง

 

 

วัดหลวงเชียงทอง
วัดหลวงเชียงทอง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงไกลจากปากน้ำคานลงทางใต้ประมาณ 300 เมตร ถือเป็นวัดเก่าแก่และโดดเด่นที่สุดบนแผ่นดินลาว เป็นประตูเมืองหลวงพระบาง และเป็นท่าเทียบเรือของกษัตริย์ทุกยุคทุกสมัย สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2103 โดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช มีฐานะเป็นวัดหลวง แต่ประชาชนสามารถเข้าไหว้พระในพระอารามได้ โดยไม่มีการปิดกั้นแยกเจ้าแยกราษฎร์ออกจากกัน ในวัดมีสถาปัตยกรรมแบบหลวงพระบางที่สวยงามและสมบูรณ์ที่สุดหลายอย่าง เช่น อารามแบบสถาปัตยกรรมล้านช้างขนานแท้ หอไหว้ หอราชโกศพระเจ้าสีสะหว่างวงศ์ หอกลอง และองค์เจดีย์เป็นต้น

  • เมื่อปี พ.ศ. 2428 สมัยที่โจรฮ่อธงดำก่อกบฏบุกปล้นเมืองหลวงพระบาง ทัพฮ่อนั้นนำโดย คำฮูมลูกเจ้าเมืองไล ได้ยึดเอาวัดเชียงทองเป็นที่ตั้งค่าย เนื่องจากว่าคำฮูมนั้นเคยบวชเป็นจัว (เณร) อยู่ที่วัดนี้ จึงรู้จักเส้นทางในเมือง และชัยภูมิของแถบบ้านเชียงทองเป็นอย่างดี พวกโจรฮ่อเผาทำลายเมืองหลวงพระบางทั้งหมด ยกวันที่วัดเชียงทองแห่งเดียวเท่านั้นที่รอดพ้นจากการถูกเผาทำลายในศึกครั้งนั้น ชาวลาวว่าเป็นเพราะคำฮูมรู้สำนึกบุญคุณวัดเชียงทองสมัยที่มาบวชเรียนอยู่จึงเว้นไม่เผา แต่บางคนก็ว่ากองทัพฮ่อใช้วัดเชียงทองเป็นที่ตั้งค่ายจึงไม่ได้เผาทิ้ง

     

    วัดหลวงเชียงทอง     จ. หลวงพระบาง
        หอไหว้พระม่าน ตั้งอยู่ด้านหลังพระอารามหลวง เป็นหอโบราณที่ถูกบูรณะขึ้นใหม่ปี พ.ศ.2471 เฉพาะคันทวย หรือแขนนางเท่านั้นที่เป็นงานฝีมือสกุลช่างเพียตัน ช่างหลวงในพระราชสำนัก ภายในหอไหว้เป็นที่ประดิษฐานพระม่าน เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิศิลปะพม่า พระนาสิก (จมูก)ใหญ่ ทาปากแดง เชื่อกันว่ามีอิทธิฤทธิ์ทางการให้ฝน และให้บุตร และชาวลาวยังเชื่อกันอีกว่ามีอิทธิฤทธิ์เทียบเท่ากันกับพระบาง หอไหว้พระม่านนี้จะปิดตลอดเวลา แต่ทางวัดจะเจาะรูเป็นช่องเล็ก ๆ ที่ประตูสำหรับส่องดูพระม่านที่ประดิษฐานอยู่ด้านในได้ หอไหว้พระม่านจะเปิด และจัดพิธีอัญเชิญพระม่านออกมาให้ประชาชนได้นมัสการ และสรงน้ำ เฉพาะในช่วงวันสงกรานต์เท่าน

     

    วัดหลวงเชียงทอง     จ. หลวงพระบาง
        อยู่ด้านหลังพระอารามหลวง ใกล้ ๆ กันกับหอไหว้พระม่านสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่พระพุทธศาสนาล่วงเข้าสู่กึ่งพุทธกาล ผนังด้านนอกประดับตกแต่งด้วยกระจกสี หรือที่ลาวเรียกว่า “ประดับดอกดวง” ทำการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2471 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนิทานสุภาษิตโบราณของลาว เรื่อง “ท้าวเสียวสวาด” หรือ “นิทานเสียวสวาด” (ฟังชื่อแล้วชวนให้จินตนาการไปไกลยังไงพิกล) ด้านในอาคารผนังจะถูกเจาะเป็นช่องเล็ก ๆ เหมือนในพระอารามหลวง และบรรจุพระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ อยู่ทุกช่องเช่นกัน ภายในหอไหว้นี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดปางไสยาสน์ ศิลปะแบบมอญที่อ่อนช้อยงดงาม หล่อขึ้นในสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช

    วัดหลวงเชียงทอง     จ. หลวงพระบาง
        ชาวลาวเรียกว่า “โรงเมี้ยนรถพระเจ้าสีสะหว่างวง” อยู่ฝั่งตรงข้ามเยื้อง ๆ กับพระอารามหลวง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ 2505. ออกแบบโดยเจ้ามนีวง เพื่อเป็นที่เก็บราชรถพระโกศของเจ้ามหาชีวิตสีสะหว่างวง หลังการสิ้นพระชนม์ ผนังด้านหน้าแกะสลักตกแต่งอย่างวิจิตรพิสดารเป็น สีทองเหลืองอร่ามโดยช่างเอกแห่งสกุลช่างล้านช้าง “เพียตัน” หรือพระยาตัน ตั้งแต่หน้าบันจดพื้นเป็นลวดลายพฤกษา และเหตุการณ์บางตอนจากมหากาพย์เรื่อง “รามเกียรติ์” แต่ภาพที่ดูโดดเด่นที่สุด เห็นจะเป็นภาพแกะสลักตรงด้านข้างบานประตูทั้งสองด้าน คือ ตอนนางสีดาลุยไฟ และ ตอนพระลักษณ์ถูกหอกโมกขศักดิ์ โดยเฉพาะภาพนางสีดาลุยไฟนั้นดูร้อนแรง ประหนึ่งว่านางสี ...

  • 0 ความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น

     
    Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons